แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 6 การแยกสาร
เรื่อง การแยกสารโดยการกรอง จำนวน 2 คาบ / สัปดาห์ สอนครั้งที่ …..
วันที่ .............................พ.ศ.2552 จำนวนนักเรียน 45 คน /ห้อง
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
ผู้สอน นางสาวปวีณา รอดเจริญ ค.บ.4 วิทยาศาสตร์
_____________________________________________________________________________________
มาตรฐานการเรียนรู้ ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ
การแยกสารหรือการทำให้สารบริสุทธิ์เป็นกระบวนการที่ใช้แยกสารที่ปนกันอยู่ออกจากกัน โดยอาศัยสมบัติที่แตกต่างกันของสารที่เจือปน
การกรอง คือ การแยกสารผสมที่มีสถานะเป็นของแข็งออกจากของเหลว โดยใช้กระดาษกรองซึ่งมีรูพรุนขนาดเล็ก ทำให้อนุภาคของของแข็งนั้นไม่สามารถผ่านกระดาษกรองได้ ส่วนอนุภาคของของเหลวจะผ่านกระดาษกรองได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนอธิบายหลักการแยกสารโดยวิธีการกรองได้ถูกต้อง
จุดประสงค์นำทาง
1.นักเรียนอธิบายหลักการแยกสารได้ถูกต้อง
2.นักเรียนทำการทดลองการกรองได้ถูกต้อง
สาระการเรียนรู้
การแยกสาร
1. หลักการแยกสาร
2. การกรอง
กระบวนการเรียนรู้
1.ขั้นอธิบายหลักการแยกสาร
1.1 จัดแบ่งนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-9 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน ( ใช้ใบรายชื่อเป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่ม )
1.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดาน แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าการแยกสารคืออะไร จงอธิบาย
นักเรียนทราบหลักของการแยกสารหรือไม่ จงอธิบาย
1.3 อธิบายเนื้อหาเรื่องการแยกสารบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียนลงสมุดของนักเรียนทุกคน
1.4 ปฏิบัติภาระงานในหัวข้อหลักการแยกสาร ตามที่กำหนดลงสมุดของนักเรียนทุกคน
การแยกสารหรือการทำให้สารบริสุทธิ์เป็นกระบวนการที่ใช้แยกสารที่ปนกันอยู่ออกจากกัน โดยอาศัยสมบัติที่แตกต่างกันของสารที่เจือปน
หลักการแยกสาร
1.ใช้สมบัติที่ต่างกันของสารผสม แยกสารที่ต้องการออก
2.สารที่แยกออกอาจเป็นสารบริสุทธิ์ แล้วนำไปใช้ หรืออาจอยู่ในรูปสารละลายที่มีสมบัติเหมาะสมกับการนำไปใช้ โดยไม่ต้องแยกเป็นสารบริสุทธ์ เช่น การกลั่นน้ำมันดิบ แยกสารได้ แก๊สปิโตรเลียม น้ำมันก๊าด เบนซิน ดีเซล พาราฟินและยางมะตอย
3.วิธีการแยกสาร ต้องได้สารที่ต้องการมาก,ปลอดภัย,ประหยัด,ไม่เกิดอันตราย
การแยกสารมีหลายวิธี ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
1.การแยกสารเนื้อเดียว (การกลั่น การตกผลึก และโครมาโทรกราฟี)
2.การแยกสารเนื้อผสม (การกรอง กรวยแยก การระเหิด การใช้มือเขี่ยออก)
1.การกรอง (Filtration) การกรอง คือ การแยกสารผสมที่มีสถานะเป็นของแข็งออกจากของเหลว โดยใช้กระดาษกรองซึ่งมีรูพรุนขนาดเล็ก ทำให้อนุภาคของของแข็งนั้นไม่สามารถผ่านกระดาษกรองได้ ส่วนอนุภาคของของเหลวจะผ่านกระดาษกรองได้ ซึ่งในชีวิตประจำวันเราจะคุ้นเคยกับการกรองในรูปของการใช้ผ้าขาวบางในการ คั้นน้ำกะทิจากมะพร้าว แผ่นกรองอากาศในเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์กรองน้ำสะอาดในเครื่องกรองน้ำ เป็นต้น
รูปแสดงการกรองด้วยกรวยกรองตัวอย่างสารผสมที่ใช้การกรองในการทำสารให้บริสุทธิ์ เช่น น้ำกับทราย น้ำกับหินปูน น้ำตาลทรายกับกรวดทราย เป็นต้น
1.5 สะท้อนความคิดโดยการอภิปรายประเด็นหลักการแยกสาร
1.6 นำเสนอผลงานโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานหน้าห้องเรียน
(กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ)
1.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
2.ขั้นทำการทดลองการกรอง
2.1 จัดแบ่งนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-9 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน ( ใช้ใบรายชื่อเป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่ม )
2.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดานและรูปภาพ แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าการกรองคืออะไร
นักเรียนคิดว่าการกรองในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
2.3 อธิบายเนื้อหาเรื่องการกรองบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียนการทดลองชุดกิจกรรมที่ 6.1ลงสมุดของนักเรียนทุกคน
2.4 ปฏิบัติภาระงานตามการทดลองชุดกิจกรรมที่ 6.1โดยให้ทำเป็นกลุ่ม จำนวน 9 กลุ่ม
ใบกิจกรรมที่ 6.1 การกรอง
จุดประสงค์ เพื่ออธิบายหลักการแยกสารโดยวิธีการกรองได้
สาร 1.ลูกเหม็น (เนฟทาลีน)
2.เกลือแกง
3.น้ำกลั่น
อุปกรณ์การทดลอง 1.กระดาษกรอง
2.กรวยกรอง
3.แท่งแก้วคนสาร
4.ถ้วยกระเบื้อง
5.บีกเกอร์
6.ชุดขาตั้ง
วิธีการทดลอง
1.ตักของผสมระหว่างเกลือแกงกับลูกเหม็นที่บดแล้ว 2 ช้อนเบอร์ 2 ใส่ลงในบีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร สังเกตสีและกลิ่น จากนั้นเติมน้ำลงไป 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร และใช้แท่งแก้วคนจนสารละลายต่อไปไม้ได้อีก สังเกตและบันทึกผล
2.พับกระดาษกรองตามตัวอย่างแล้ววางในกรวยกรอง ใช้น้ำพรมกระดาษกรองให้ทั่ว เพื่อให้กระดาษกรองติดกับผิวกรวยกรองด้านใน
3.รินสารจากข้อ 1 ลงในกระดาษกรอง โดยรินผ่านแท่งแก้ว สังเกตสิ่งที่ค้างอยู่บนกระดาษกรองและของเหลวที่ผ่านกระดาษกรอง แล้วบันทึกผลการทดลอง
4.นำของเหลวที่กรองได้ไปใส่ในถ้วยกระเบื้อง แล้วนำไประเหย เมื่อของเหลวเกือบแห้งให้ดับตะเกียงโดยใช้ฝาครอบ
ตารางบันทึกผลการทดลอง
การทดลอง
การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้
1.ลักษณะสารก่อนละลายน้ำ
2.การละลายน้ำ
3.การกรอง
4.การนำของเหลวที่กรองได้ไประเหย
สรุปผลการทดลอง
.........................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................
2.5 บูรณาการโดยให้ตัวแทนแต่ละกลุ่ม 1 คนไปศึกษาผลการทดลองของกลุ่มเพื่อนๆทั้ง 9 กลุ่ม แล้วบันทึกลงสมุดของตนเอง พร้อมมาชี้แจงให้เพื่อนภายในกลุ่มเข้าใจตรงกัน
2.6 นำเสนอผลงานโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานหน้าห้องเรียนจาก การทดลองชุดกิจกรรมที่ 6.1
2.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1.กิจกรรมอธิบายหลักการแยกสาร
1.1.ใบรายชื่อนักเรียน (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
1.2.เนื้อหาเรื่อง การแยกสาร, คำถามจำนวน 2 คำถาม
1.3.เนื้อหาเรื่อง การแยกสาร
1.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1, สมุดจดบันทึก
1.5.ครูและกลุ่มนักเรียน
1.6.บัตรกำหนดเวลา
1.7.ประเมินผลสรุป
2.กิจกรรมทำการทดลองการกรอง
2.1.ใบรายชื่อนักเรียน (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
2.2.เนื้อหาเรื่อง ทำการทดลองการกรอง, คำถามจำนวน 2 คำถาม
2.3.เนื้อหาเรื่อง ทำการทดลองการกรอง
2.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1, สมุดจดบันทึก
2.5.ครูและกลุ่มนักเรียน
2.6.บัตรกำหนดเวลา
2.7.ประเมินผลสรุป
การวัดและประเมินผล
การวัดผล
1.วัดผลการอธิบายหลักการแยกสารด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
2.วัดผลการทำการทดลองการกรอง ด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
การประเมินผล
1.ประเมินผลการอธิบายหลักการแยกสารพบว่า นักเรียน ....คน อธิบายหลักการแยกสารไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่องหลักการแยกสารเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
2.ประเมินผลการทำการทดลองการกรองพบว่า นักเรียน .... คน ทำการทดลองการกรองไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่องการทดลองการตกกรองเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
บันทึกหลังการสอน
ผลการสอน
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ปัญหา / อุปสรรค
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ ....................................................ครูผู้สอน
(นางสาวปวีณา รอดเจริญ)
วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)